Microsoft พิจารณาอนุญาตให้เจ้าของสามารถซ่อม Xbox ของตัวเองได้

Microsoft พิจารณาอนุญาตให้เจ้าของสามารถซ่อม Xbox ของตัวเองได้

Microsoft ได้อยู่ระหว่างการพิจารณาถึงการอนุญาตให้เจ้าของ/ผู้ที่ครอบครองตัวเครื่องเล่นคอนโซล Xbox นั้น สามารถซ่อมของตัวเองได้ เมื่อวานนี้ (11 ต.ค. 2564) Microsoft ได้ทำการเปิดเผยว่าในขณะนี้ได้อยู่ระหว่างการพิจารณาถึงการอนุญาตให้ผู้ที่ครอบครองหรือเจ้าของเครื่องเล่นคอนโซล Xbox สามารถทำการซ่อมแซมเครื่องเล่นของตนเองได้ ทำให้ถือว่าบริษัทขนาดใหญ่รายแรกที่มีการเปิดตัวว่าจะยอมรับแนวทางของ “สิทธิในการซ่อมแซม” อุปกรณ์ด้วยตนเอง

สิทธิในการซ่อมแซมอุปกรณ์ด้วยตนเองนั้น 

เป็นแนวทางที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้งานทั้งหลายนั้นสามารถดำเนินการซ่อมแซมอุปกรณ์ที่ตนเองซื้อ หรือมีครอบครองอยู่ได้ด้วยตนเอง โดยพึ่งพา หรือมีข้อแม้-ข้อผูกมัดจากบริษัท / ผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์อย่างน้อยที่สุด (การปฏิเสธที่จะส่งมอบชิ้นส่วนสำรอง หรือเอกสาร/คู่ในการซ่อมแซม สำหรับผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาต หรือลงทะเบียนเป็นหุ่นสวนในการให้บริการซ่อมแซม)

ในส่วนของข่าวนั้น จากการรายงานของ Grist ก็ได้อธิบายไว้ว่า Microsoft นั้น ได้บรรลุข้อตกลงกับ As You Sow กลุ่มนักลงทุนที่ไม่แสวงหากำไร, ผู้ซึ่งได้ทำการยื่นเอกสารแสดงความต้องการของผู้ถือหุ้น เมื่อเดือนมิถุนายน ให้บริษัทนั้นมีการพิจารณาถึงการศึกษา “ผลประโยชน์แก่สภาพแวดล้อม และสังคม” ในการทำให้การซ่อมแซมอุปกรณ์ต่าง ๆ นั้นง่ายยิ่งขึ้น

โดย Microsoft นั้นก็ทำการตกลงที่จะจ้างที่ปรึกษาอิสระเพื่อทำการศึกษาถึงผลประโยชน์ของการมอบการเข้าถึงชิ้นส่วน และเอกสาร/คู่มือสำหรับการซ่อมแซมแก่ผู้บริโภคให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งก็รวมไปถึงประเด็นว่ามันจะช่วยในการลดมลพิษทางอากาศ และขยะต่าง ๆ ได้หรือไม่

ซึ่งทางบริษัทนั้น จะยังไม่เปิดให้การศึกษาดังกล่าวเป็นสาธารณะในเวลานี้ เนื่องจาก มันอาจจะบรรจุข้อมูลต่าง ๆ ที่ถือว่าเป็นความลับทางการค้า และที่เป็นกรรมสิทธิ์โดยเฉพาะของ Microsoft แต่ก็คาดว่าจะสามารถทำการเปิดเผยข้อสรุปสู่สาธารณะได้ ภายในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม 2565 (2022)

Microsoft ได้ทำการตกลงที่จะเปิดทางให้สามารถเข้าถึงชิ้นส่วน และเอกสาร/คู่มือใหม่ได้ นอกเหนือไปจากเครือข่ายบริการซ่อมแซมภายในสิ้นปี 2022 และจะปล่อยแนวทางการดำเนินการใหม่เพื่อเป็นการช่วยเหลือแก่ผู้ให้บริการซ่อมแซมในท้องถิ่น โดยทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับผลการศึกษาว่าจะแสดงให้เห็นถึงประโยชน์ในการอนุญาตให้ผู้ใช้งานซ่อมแซมอุปกรณ์ของตนเองได้

ถึงแม้ว่าการอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของ Microsoft นั้นจะดูเป็นข่าวดี แต่ก็ยังคงมีการเฝ้าระวังอยู่เนื่องจากทาง Microsoft นั้น ถือว่าเป็นหนึ่งในกลุ่มบริษัทที่ต่อต้านกฎหมายด้านสิทธิในการซ่อมแซม จากการให้สัมภาษณ์โดย Nathan Proctor, ตัวแทนจาก US Public Research Interest Group

Android 12 ‘ปล่อย’ ให้ใช้งานแล้วอย่างเป็นทางการ

Google ได้ทำการประกาศถึงการปล่อยให้ใช้งานอย่างเป็นทางการแล้วกับระบบปฏิบัติการสำหรับมือถือ Android 12 แต่ยังไม่สามารถใช้งานได้ในเวลานี้ เมื่อวานนี้ (4 ต.ค. 2564) – Google ได้ทำการประกาศถึงการปล่อยตัวระบบปฏิบัติการสำหรับมือถือเวอร์ชั่นล่าสุด – Android 12 อย่างเป็นทางการเรียบร้อย แต่ถึงกระนั้นตัวระบบที่ว่านี้ยังไม่สามารถใช้งานได้ในเวลานี้ และจำกัดแค่เฉพาะสมาร์ทโฟน Google Pixel (ที่ก็ต้องรอไปอีกอาทิตย์หนึ่ง/ต่อ ๆ ไป)

โดยการปล่อยตัวที่ว่านี้ก็คาดว่าจะเป็นการเร่งปล่อย source ให้แก่โครงการ Android Open Source Project สำหรับบรดาผู้พัฒนาทั้งหลาย

และสำหรับผู้ที่ใช้งานสมาร์ทโฟนที่มีระบบปฏิบัติการ Android เช่น Samsung, OnePlus, Oppo, Realme, Tecno, Vivo, และ Xiaomi นั้น จะได้รับตัว OS รุ่นนี้ในภายหลัง โดยมีการแจ้งว่า “ภายในปีนี้” เท่านั้น โดยการล่าช้าที่ว่าก็ถือว่าไม่ใช่สิ่งน่าประหลาดใจ เพราะแม้กระทั้งตัว Pixel สมาร์ทโฟนของ Google เอง ก็จะได้รับหลังวันปล่อยตัวไปประมาณอาทิตย์หนึ่ง หรือต่อ ๆ ไป ดังนั้นแล้วเราก็ยังคงต้องรออีกซักพักหนึ่ง จนกว่าการปล่อยตัวที่ว่านี้จะมีผลอย่างเป็นทางการบนอุปกรณ์เครื่องต่าง ๆ อย่างแท้จริง

ข้อมูลอีกส่วนหนึ่งก็ได้เปิดเผยว่า “พวกเรามีหลักฐานจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ที่บ่งชี้ว่า Hate Speech, ถ้อยคำที่ส่งเสริมการแบ่งแยกทางการเมือง และการปล่อยข่าวปลอมบนแพลตฟอร์มนั้นส่งผลกระทบไปทั่วโลก”

Haugen กล่าวอ้างว่า ต้นตอของปัญหาดังกล่าวนั้นมาจาก algorithms ที่ได้ปล่อยออกมาเมื่อปี 2018 ที่จะทำการกำกับควบคุมสิ่งที่คุณจะเห็นบนแพลตฟอร์ม และมันนั้นออกแบบมาเพื่อกระตุ้นให้มีการปฏิสัมพันธ์ ซึ่งพบว่าสิ่งที่ทำให้เกิดปฏิสัมพันธ์ที่ดีที่สุดนั้นคือสิ่งที่ก่อให้เกิดความหวาดกลัว และความเกลียดชัง “มันถือว่าง่ายที่สุดในการจูงใจให้ผู้คนโกรธแค้นมากกว่าอารมณ์อื่น ๆ”

ทำให้ถือว่าเป็นอะไรที่ตรงกันข้ามกับที่ Mark Zuckerberg ได้นำเสนอในเวลานั้น ที่ได้แสดงออกมาว่ามันจะให้ผลลัพธ์ในด้านบวกเป็นหลัก

นอกจากที่กล่าวมาในข้างต้นแล้วนั้น Haugen ยังได้กล่าวถึงว่าเนื้อหาที่ส่งผลในแง่ลบมักจะได้รับการส่งต่อเป็นจำนวนอย่างมีนัยยะสำคัญ หลังจากที่ได้รับเอกสารข้อมูลดังกล่าวแล้วนั้น WSJ ได้ทำการตีพิมพ์เป็น รายงานฉบับรวมจากข้อมูลที่ได้รับภายใต้ชื่อว่า The Facebook Files เมื่อเดือนกันยายน ที่ก็มีการเปิดเผยข้อมูลของสื่อสังคมในเครืออย่าง Instagram ว่าส่งผลในด้านลบ และเป็นอันตรายต่อบรรดาวัยรุ่นหญิง

เกมส์ออนไลน์แนะนำ >>> ป๊อกเด้งออนไลน์